บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ออกกำลังกายตามช่วงอายุ...ชีวิตจะยืนยาว

     การออกกำลังนั้นมีประโยชน์ คนทุกวัยจึงควรออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาแม้แต่เด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ แต่ต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมทั้งชนิดและความหนักเบาของกีฬา และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บด้วย
    เมื่อเข้าสู่อายุ 30 ปีขึ้นไปความสามารถของร่างกายจะเริ่มลดลง ทั้งด้านความทนทาน ความว่องไว กำลังของกล้ามเนื้อ การเล่นกีฬาที่ใช้กำลังมากๆ หรือคนที่มีโรคประจำตัว หากออกกำลังกายโดยไม่คำนึงถึงความสามารถของตน ก็จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายหรือบาดเจ็บได้



อายุ 1 - 3 ปี เล่น และออกกำลังกายเป็นครั้งคราว เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และเกิดพัฒนาการของร่างกาย โดยใช้กิจกรรม ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น เดิน วิ่ง กระโดด
อายุ 4 - 6 ปี ควรได้ใช้ทุกส่วนของร่างกายในการออกกำลัง เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อและระบบหายใจ เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน เล่นกายบริหาร กิจกรรมเลียนแบบ และเกมเบ็ดเตล็ด
อายุ 7 - 11 ปี เน้น การออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกาย เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่วและเกิดการประสานงาน เช่น เล่นกีฬา ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน และเล่นเกมที่ยากขึ้น รวมถึงกิจกรรมที่นำไปสู่การเล่นกีฬา



อายุ 12 - 17 ปี ออกกำลังให้ครบทุกส่วนของร่างกายโดยเน้นสมรรถภาพของร่างกายและพัฒนาทักษะทาง กลไกให้มีการทำงานที่สัมพันธ์กัน เช่น วิ่ง ถีบจักรยาน เล่นบาสเกตบอล วอลเลย์บอล ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เต้นรำ แบดมินตัน และอื่น ๆ
อายุ 18 - 35 ปี ออกกำลังเพื่อเน้นฝึกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของร่างกาย และเน้นการฝึกทักษะที่ยากและซับซ้อน เพื่อเป็นพื้นฐานความสามารถ ของร่างกาย ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายทุกรูปแบบ กิจกรรมควรเน้นความหลากหลาย เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อให้ครบทุกส่วน ของร่างกาย และเน้นการออกกำลังให้เป็นกิจวัตรประจำวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง วันละ 20 - 30 นาที



อายุ 36 - 59 ปี การออกกำลังต้องมีหลายรูปแบบและสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายให้ เหมาะสมกับร่างกาย เวลา สถานที่ เนื่องจาก เป็นวัยที่มีภาระหน้าที่ในการทำงานและครอบครัว ส่วนใหญ่มักมีข้ออ้างว่าไม่มีเวลาว่าง แต่ร่างกายมีความต้องการที่จะให้ดูแลรักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย ถ้าไม่ได้ออกกำลังกายมานาน ควรปรึกษาแพทย์
หากอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจร่างกาย และการทำงานของหัวใจด้วย ควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังที่เคยทำ แต่ลดความเร็วและความหนักลง เช่น ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน กายบริหาร วิ่งเหยาะ ๆ ในวันที่ไม่ได้ออกกำลังกายก็ควรมีกิจกรรมที่ออกแรง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น ทำงานบ้าน ยกแขนขึ้นลง บิดลำตัว ก้มเงย
อายุ 60 ปีขึ้นไป การ ออกกำลังกายในวัยนี้มีข้อจำกัด ต้องยึดแนวทางการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจจะเกิดโทษต่อสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนเริ่มออกกำลังกาย โดยเฉพาะการทำงานของหัวใจ กิจกรรมที่ออกกำลังควรเป็นแบบเบา ๆ เช่น เดิน วิ่ง รำมวยจีน รำกระบอง กายบริหารประกอบดนตรี ไม่ควรออกกำลังกายที่ใช้แรงมากในระยะสั้น ๆ




ที่มา :  http://entertain.bungkan.com/data/3/0303-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น