บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคเหงือกอักเสบคืออะไร สัญญาณ และ อาการ

โรคเหงือกคืออะไร
    โรคเหงือกคือการอักเสบของเหงือกที่สามารถพัฒนาไปเป็นการติดเชื้อที่กระดูกที่ยึดติดฟันและบริเวณใกล้เคียง โรคเหงือกเกิดจากแบคทีเรียซึ่งเป็นเหมือนฟิล์มที่ใสที่เกาะอยู่บนตัวฟัน ถ้าไม่ทำความสะอาดออกไปทุกวันด้วยการแปรงฟันและขัดฟัน คราบแบคทีเรียก็จะสะสม และไม่เพียงแค่เหงือกและฟันก็จะติดเชื้อ แต่รวมถึงเนื้อเยื่อและกระดูกที่ยึดติดกับฟันด้วย ซึ่งอาจทำให้ฟันโยก หลุด หรือต้องถูกถอน



ขั้นตอนของโรคเหงือก มี 3 ขั้นตอน :
     1. อาการเหงือกอักเสบ อาการอักเสบของเหงือกที่เกิดจากคราบแบคทีเรียสะสมตามร่องเหงือกนี้เป็นอาการเริ่มต้นของโรคเหงือก ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวันไม่สามารถขจัดคราบแบคทีเรียได้ทั้งหมด ก็จะทำให้เกิดสารพิษที่จะทำลายเนื้อเยื่อเหงือก และเกิดเหงือกอักเสบ อาจมีการเลือดออกขณะแปรงฟันหรือขัดฟัน ในระยะเริ่มแรกนี้ อาการสามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากกระดูกและเนื้อเยื่อยังไม่ถูกทำลาย
2. อาการปริทนต์ ในระยะนี้ กระดูกและเส้นใยที่คอยยึดฟันไว้จะถูกทำลายไปแล้ว ร่องเหงือกจะกลายเป็นโพรงที่เศษอาหารและหินปูนจะเข้ามาสะสม การรักษาและการดูแลที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสียหายได้
3. อาการปริทนต์ขั้นรุนแรง ในระยะสุดท้ายนี้ กระดูกและเส้นใยที่คอยยึดฟันไว้จะถูกทำลายไปแล้ว และทำให้ฟันโยก ซึ่งจะส่งผลต่อการเคี้ยว ถ้าไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงที อาจจะต้องถอนฟันในที่สุด
                                                                                          
เหงือกที่แข็งแรงคือ เหงือกที่ยึดแน่นกับฟันและไม่มีเลือดออก
เหงือกอักเสบ – เหงือกจะแดงและบวม อาจมีเลือดออกเวลาแปรงฟัน .
ปริทนต์ – เหงือกจะเริ่มแยกจากฟัน ทำให้หินปูนไปสะสมที่รากฟัน
ปริทนต์ขั้นรุนแรง – กระดูกและเนื้อเยื่อถูกทำลาย ฟันจะโยกหลวมและต้องถูกถอ


เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเหงือก   
    โรคเหงือกสามารถเกิดได้กับทุกวัย แต่มักจะพบบ่อยในผู้ใหญ่ ถ้าตรวจพบในช่วงแรกจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ควรพบทันตแพทย์ทันทีเมื่อคุณพบอาการต่อไปนี้
1.หงือกแดงและบวมหรือนุ่ม
2. เหงือกมีเลือดออกระหว่างแปรงฟันหรือขัดฟัน
3. ฟันดูยาวขึ้นเนื่องจากเหงือกร่นลงไป
4. เหงือกไม่ติดอยู่กับฟัน เหมือนมีร่อง
5. ฟันมีการขยับเขยื่อนเวลาเคี้ยว
6. มีหนองไหลออกมาจากบริเวณร่องเหงือก
7. มีกลิ่นปากหรือรสชาติประหลาดในปาก

โรคเหงือกรักษาได้อย่างไร 
          ระยะเริ่มแรกของโรคเหงือกสามารถรักษาได้ด้วยการแปรงฟันหรือการใช้ไหมขัดฟัน การดูแลสุขภาพปากและฟันที่ดีจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดคราบแบคทีเรียสะสม
                 การทำความสะอาดช่องปากด้วยทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นทางเดียวที่จะขจัดคราบแบคทีเรียที่สะสมและแข็งตัว โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนที่แข็งตัวออกจากฟันและร่องเหงือก ถ้ามีอาการมาก อาจจะต้องทำการรักษารากฟัน ซึ่งจะช่วยดูแลรากฟันไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย
                โรคเหงือกระยะเริ่มแรกสามารถรักษาได้ก่อนที่จะลุกลาม ถ้ามีการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ ถ้ามีอาการรุนแรง จะต้องทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เราจะป้องกันโรคเหงือกอักเสบได้อย่างไร 
    การดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันที่ดีเป็นวิ่งสำคัญ การทำความสะอาดด้วยผู้เชี่ยวชาญก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันเมื่อมีการสะสมตัวของคราบแบคทีเรียที่มากและแข็งจนกลายเป็นหินปูน ซึ่งทันตแพทย์เท่านั้นที่จะขจัดออกได้
   เราสามารถหยุดโรคเหงือกก่อนที่จะเริ่มโดย:
- การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีเพื่อขจัดคราบแบคทีเรียไม่ให้สะสม
- การรับประทานอาหารที่ถูกโภชนาการสำหรับฟันและกระดูก
- การหลีกเลี่ยงบุหรี่ และยาสูบ
- การพบทันตแพทย์เป็นประจำ

ที่มา: http://www.colgate.co.th/app/Colgate/TH/TH/OC/Information/
OralHealthBasics.cvsp






1 ความคิดเห็น: